Blog

ไม่เลือกงานไม่ยากจน แล้วถ้าอยากได้งานดีๆต้องทำอย่างไร

“ไม่เลือกงานไม่ยากจน” อาจไม่จริงเสมอไป เพราะหากทำไปก่อนโดยไม่ไตร่ตรองให้ดีทั้งที่ไม่อยากทำ รายจ่ายทั้งหมดเมื่อหักลบจากรายได้ของงานนั้นแล้ว อาจไม่เพียงพอ เดือนชนเดือนตลอด สุขภาพก็แย่ลงทุกวัน ไม่มีความสุขกับงาน อยากลาออกทุกวันแต่ก็ยอมทน เวลาให้ครอบครัวก็น้อยลงทุกที ซึ่งถ้าเราเจอสถานการณ์แบบนี้อาจหนักกว่าคำว่า “ยากจน” 

.

⭐ ที่สุดแล้ว เราก็ต้องเลือกงานที่เหมาะสมค่ะ นอกจากตรงทักษะความสามารถ หรือความชอบความอยากที่จะทำงานนั้นซึ่งสำคัญสุด รายได้ก็ต้องเพียงพอด้วย

.

👉 แล้วงานยุคนี้จะหาจากไหนที่ให้เงินเดือนได้เพียงพอกับรายจ่ายเรา ?

เบื้องต้นควรหางานที่ใกล้บ้านที่สุดก่อนค่ะ เพราะแม้เงินเดือนไม่เยอะมาก แต่ถ้าค่าเดินทางไม่สูง รายได้ที่เหลืออาจพอ ๆ กับงานที่ให้เงินเดือนสูงกว่าแต่อยู่ไกลกว่าก็เป็นได้นะคะ แต่ถ้างานนั้นอยู่ไกลไปหน่อย ก็ต้องลองคำนวณค่าใช้จ่ายดูก่อน ว่าเมื่อหักลบแล้วเราไหวไหม หรือสะดวกที่จะไปเช่าที่พัก หรือมีบ้านญาติที่สะดวกให้เราไปพักด้วยไหม

.

👉 แต่ที่ยากยิ่งกว่าคือ งานไม่ยอมเลือกเรานี่สิ สมัครไปแล้วไม่ได้สักที อยากให้งานเลือกเราต้องทำไง ?

สำคัญสุดคือเรซูเม่ค่ะ ถ้าเลือกสมัครงานโดยการใช้เรซูเม่ใบเดิมหว่านส่งไปรัว ๆ โอกาสแทบไม่มีเลยนะคะ เทคนิคที่ต้องทำทุกครั้งคือ อ่านประกาศให้จบอย่างละเอียด ถ้างานนั้นใช่เลย เรานี่แหละมีความสามารถตรงตามที่เขาประกาศ อย่าเก็บไว้คนเดียวค่ะ ต้องโชว์มันออกมาให้ HR เห็นในเรซูเม่ด้วย ก่อนจะส่งต้องตรวจสอบก่อนว่าเราโชว์คุณสมบัตินั้นลงเรซูเม่รึยัง ถ้ายัง ต้องปรับแก้ให้ตรงตามที่เขาประกาศก่อน

.

⭐ และที่ย้ำอยู่เสมอเลยคือ งานของแต่ละบริษัทต่างกำหนดคุณสมบัติไม่เหมือนกัน เทคนิคข้างต้นนี้สำหรับใช้สมัคร 1 บริษัทเท่านั้นนะคะ ต้องปรับเรซูเม่ให้ตรงความต้องการของเขาก่อนแล้วค่อยส่งไป

แต่สิ่งที่ระบุต้องเป็นคุณสมบัติความสามารถที่เรามีจริงเท่านั้นนะคะ ในบางตำแหน่งงานที่ดูว่าตรงกับสายเรา แต่คุณสมบัติที่เขากำหนด เราอาจจะไม่มีก็ได้ เช่น บริษัท B รับสมัคร การตลาดออนไลน์ ต้องมีทักษะการพูดภาษาจีน แล้วถ้าเราใช้เรซูเม่ที่โชว์เฉพาะความสามารถด้านการตลาดซึ่งเคยใช้ส่งกับบริษัท A มาส่งกับบริษัท B โอกาสก็ศูนย์อยู่ดี เว้นแต่ว่า เราจะพูดจีนได้แล้วระบุลงในเรซูเม่ด้วย

.

❤ สรุปแล้วการหว่านเรซูเม่ที่เพิ่มโอกาสให้ได้งานเร็วขึ้นจริง คือต้องเจองานที่ใช่แล้วปรับเรซูเม่ให้ตรงและหว่านไป 1 ใบต่อ 1 บริษัท เว้นแต่ว่า เจอ 2 บริษัทที่กำหนดคุณสมบัติเหมือนกัน อันนี้ใช้ใบเดิมได้ค่ะ แต่มันเป็นไปได้ยากมากเลยนะคะที่จะเจอแบบนี้

ข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อการพิจารณาเรียกสัมภาษณ์มากที่สุด คือ “ประสบการณ์” เพราะเป็นส่วนที่สร้างความน่าเชื่อถือและยืนยันในความสามารถของผู้สมัคร นอกจากข้อมูลบริษัท ระยะเวลาและตำแหน่งที่เคยทำงาน ซึ่งต้องระบุให้ครบ ถูกต้องและชัดเจน แต่ที่หลายคนตกม้าตายก็เพราะการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบแบบสั้น ๆ จนหาความน่าสนใจไม่เจอแม้แต่นิดเดียว

 

.. ขอยกตัวอย่างนะครับ ระหว่าง

นาย ก เขียนข้อมูลด้านทักษะในเรซูเม่ว่า มีทักษะการออกแบบ และเขียนข้อมูลประสบการณ์ทำงานแค่ว่า เคยทำงานในตำแหน่ง Graphic Designer หน้าที่ความรับผิดชอบคือ ออกแบบสื่อโฆษณา . จบ

นาย ข มีทักษะด้านการออกแบบเหมือนกัน มีประสบการณ์ในตำแหน่งงานเดียวกัน แต่เขียนหน้าที่ความรับผิดชอบ คือ

1. ออกแบบสื่อโฆษณาสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้าเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพลงใน Facebook และ IG โดยใช้โปรแกรม Photoshop

2. ร่วมออกแบบหน้าเว็บไซต์ของบริษัทธุรกิจเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพกับ UX/UI Designer โดยใช้โปรแกรม Adobe Illustrator 

3. ร่วมวิเคราะห์งานกับทีม Content Marketing เกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้าในการมีส่วนร่วมกับ Content มากที่สุด เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาการออกแบบสื่อโฆษณาให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

 

แม้ 2 ท่านนี้จะมีทักษะการออกแบบเหมือนกัน แต่การระบุแบบนาย ก ก็ไม่รู้เลยว่า ออกแบบอะไร,ใช้เครื่องมืออะไรทำงานได้บ้าง 

ส่วนนาย ข เห็นทักษะความสามารถชัดเจนเลย แถมยังเห็นกระบวนการทำงานเป็นทีมที่แสดงให้เห็นว่ามีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Soft Skills) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกตำแหน่งงานต้องมีอีกด้วย

 

และถ้าคุณเป็น HR คงเลือกได้ทันทีเลยใช่ไหมครับ ว่าต้องรีบโทรนัดสัมภาษณ์ใคร !!

อยากบอกว่า ตัวอย่างของนาย ข  3 ข้อด้านบน คือเทคนิคการเขียนประสบการณ์เลยครับ จริง ๆ แล้วไม่มีอะไรยาก ไม่ต้องกังวลเลยครับว่าเขียนไปจะผิดหรือถูก เรื่องนี้มันอยู่ที่ว่า คุณจะลงรายละเอียดงานออกมาได้มากแค่ไหน

คีย์สำคัญก็คือ ควรเขียนเป็นข้อ ๆ เพื่อให้ HR อ่านง่าย เคยทำอะไรบ้างเอาออกมาโชว์ให้หมด แต่ต้องระบุให้ชัดเจนว่างานที่ทำ คืออะไร ,สำหรับอะไร ,โดยใช้เครื่องมือใด และเรซูเม่จะโดดเด่นมากขึ้น ถ้าระบุไปถึงกระบวนการทำงาน ว่ามีวิธีทำงานอย่างไร ทำเพื่ออะไรและมีวิธีพัฒนาอย่างไรให้งานดีขึ้น (เหมือนตัวอย่างนาย ข ที่มีการวิเคราะห์งานกับทีม Content Marketing) แบบนี้นอกจากจะแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถแล้ว ยังเห็นด้วยว่าคุณเข้าใจการทำงานเป็นทีมและใส่ใจในงานที่ทำ ซึ่งเป็นลักษณะของคนที่ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง ใคร ๆ ก็ต้องการรับเข้าทำงาน

 

ขอแนะนำเพิ่มเติมว่า ควรระบุความสามารถที่โดดเด่นไว้ข้อบน ๆ นะครับ เพราะนั่นคือทักษะหลักของการทำงานในตำแหน่งที่คุณสมัคร และอีกประเด็นสำคัญก็คือ อาจมี HR บางท่านอ่านไม่จบ และถ้าเห็นในข้อบนว่าคุณมีเพียงทักษะรอง (แต่เขาต้องหาคนที่โดดเด่นในทักษะหลัก) เขาอาจไม่สนใจอ่านข้อมูลในข้อต่อไป เรซูเม่ของคุณอาจไม่มีโอกาสเลยก็เป็นได้

 

และถ้า HR โทรมานัดสัมภาษณ์แล้ว ก่อนวันสัมภาษณ์ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมมากที่สุดด้วยนะครับ

  • Share :

Article

5การเสี่ยงในชีวิตการทำงานที่คุณควรลองทำดู

การเสี่ยงคงเป็นเรื่องที่พูดให้ลองก็เหมือนจะง่ายแต่ทำจริงๆ ก็คงจะยากอยู่เหมือนกัน ผมเองเขียนเรื่องการพัฒนาตัวเองซึ่งประเด็นว่าด้วยการเสี่ยงก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ถูกพูดถึงบ่อยๆ แต่ก็ใช่ว่าทำได้ง่ายๆ และพอมาเป็นเรื่องของหน้าที่การงานหรือการตัดสินใจในการทำงานก็จะยิ่งแล้วใหญ่ (เพราะมันก็เกี่ยวกับอนาคตของคนเลยก็ว่าได้) วันก่อนผมก็ไปอ่านบทความของ The Muse ว่าด้วยการเสี่ยง (หรือการตัดสินใจ) บางอย่างในการทำงานซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเสี่ยงอยู่มาก แต่ก็เป็นเรื่องที่คุณควรจะลองเสี่ยงอยู่เหมือนกัน (ในบทความถึงกับใช้คำว่าถ้าคุณไม่เสี่ยงจะเสียใจเลยทีเดียว) เลยขอหยิบเอาแนวคิดจากบทความนั้นมาเล่าสู่กันฟังพอเป็นไอเดียให้พิจารณาแล้วกันนะครับ 1. จ้างหรือให้โอกาสคนที่ไม่น่าจ้าง เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าคุณควรเลือกคนประเภทสุดขั้วชนิดไม่ควรเอามาทำงานหรอกนะครับ แต่มันหมายถึงการลองมองเห็นความสามารถของคนมากไปกว่า Resume ที่ส่งเข้ามาให้คุณกรองต่างหาก เรื่องนี้มีสถิติน่าสนใจเพราะ Jeff Harden ซึ่งเป็นคนเขียนบทความนั้นทำแบบสอบถามบรรดาผู้ประกอบการต่างๆ ซึ่งก็พบว่าหนึ่งในบรรดาลูกจ้างที่โดดเด่นชนิดเป็นเพชรของบริษัทคือคนประเภทที่ตอนสมัครนั้นไม่ใช่พวกที่ตรงกับ Qualification เลย เรื่องความสามารถของพนักงานนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าคิดอยู่พอสมควร เพราะคนส่วนใหญ่มักมองเรื่องทักษะและประสบการณ์เป็นส่วนสำคัญในการคัดเลือก ทำให้เรามักมองหาคนจากประวัติการศึกษาและประวัติการทำงาน แต่หลายๆ ทีเราจะเจอคนเก่งๆ ที่ประสบการณ์ยังน้อยแต่เต็มไปด้วย “ไหวพริบ” “ทัศนคติ” และ “วิสัยทัศน์” ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหาได้จากประวัติการทำงานเลย และนี่อาจจะเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่คุณอาจจะต้องคิดกันเสียหน่อยเวลาหาคนมาทำงานให้กับองค์กรของคุณครั้งต่อไปล่ะ 2. ขอโทษกับความล้มเหลวที่เกิดขึ้น บางครั้งเรามักจะเจอสถานการณ์ที่ได้ทำความผิดพลาดครั้งใหญ่ไปจนประเภทอยากจะมุดดินหนี ไม่กล้าที่จะขอโทษเพราะมันจะยิ่งทำให้ภาพลักษณ์หรือประวัติของเราแย่ แต่ก็อีกนั่นแหละที่บางครั้งการขอโทษอาจจะทำให้คุณได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าก็ได้ (อันที่จริงการขอโทษไม่ใช่เรื่องแย่แต่อย่างใดเลยด้วยซ้ำ) แม้ว่าการยอมรับความผิดพลาดนั้นจะทำให้คุณดูแย่ในสายตาหลายๆคน จะทำให้คุณต้องพบกับความอับอาย แต่เชื่อเถอะว่าต่อให้คุณไม่ได้รับผิดมันก็แย่อยู่แล้ว การที่คุณกล้าเสี่ยงขอโทษนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ทำให้ตัวคุณหลุดจากบ่วงหรือความอึดอัดหลายอย่างได้ในภายหลัง ผมลองคิดๆดูแล้ว ชีวิตคนเรามีหลายสิ่งที่เป็นความทรงจำฝังใจ และมันมักทำให้เรารู้สึกจี๊ดใจเวลานึกถึงอยู่เหมือนแผลที่ไม่เคยถูกรักษา ซึ่งมันก็อาจจะดีกว่าถ้าคุณต้องเจ็บสักครั้งแต่ทำให้แผลนั้นหายหรือไม่ติดค้างอะไรอีกต่อไปนั่นแหละ 3. เผชิญหน้ากับสิ่งที่คุณกลัวที่สุด คนเราล้วนมีความกลัว ล้วนมีบางเรื่องที่รู้สึกไม่มั่นใจเป็นเรื่องธรรมดา การงานก็เช่นกันที่คุณจะมีงานที่คุณกลัวที่จะทำ หรือกับสายงานที่คุณลำบากใจหากต้องไปยุ่ง แต่ก็อย่างว่าแหละครับว่าในบรรดาสิ่งที่คุณกลัวหรือคุณไม่กล้าเผชิญนั้นก็ย่อมแฝงไว้ด้วยโอกาสซึ่งคุณไม่เคยเข้าไปแตะต้องมัน และถ้าคุณกล้าจะเสี่ยงไปเผชิญหน้าหรือลองทำมันแล้ว ดีไม่ดีมันจะออกมากลายเป็นว่าคุณได้โอกาสอย่างไม่น่าเชื่อเลยก็ได้ เรื่องนี้ก็อาจจะเป็นสิ่งน่าคิดว่าคนทำงานเก่งๆนั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีเรื่องที่กลัว เพียงแต่เขารู้ว่าการอยู่กับความกลัวตลอดไปไม่น่าจะใช่คำตอบเสียทีเดียว พวกเขาเลยลองทำโน่นทำนี่ กล้าที่จะเสี่ยงกับบางอย่างใหม่ๆที่อาจจะไม่เคยทำ (และบางอย่างก็เป็นสิ่งที่เขากลัวด้วย) และการที่เขาลองทำอะไรนี่แหละทำให้ศักยภาพของเขามากขึ้นกว่าเดิมเรื่อยๆและสุดท้ายกลายเป็นว่าเขาสามารถทำสิ่งต่างๆได้มากมายกว่าคนทั่วๆไปนั่นแหละครับ 4. ทำในสิ่งที่คุณอยากทำแม้ว่าจะไม่ตรงกับสิ่งที่คนอื่นคาดหวัง เรามักเห็นบ่อยๆว่าไอเดียบรรเจิดๆของคนๆหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จนั้นเป็นอะไรที่ “ผ่าเหล่า” บ้างก็ชนิดคนทั่วไปคงร้องยี้หรือเบือนหน้าหนี แน่นอนว่าปรกติแล้วคนรอบข้างคุณก็มักจะมีความเห็นหลายๆอย่างซึ่งก็จะมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับคุณแต่ก็นั่นแหละที่ถ้าคุณเอาแต่ฟังคนอื่นเพื่อมาคอยคอนเฟิร์มคิดอยู่ตลอดก็คงจะไม่ใช่เรื่องเข้าท่าสักเท่าไร บางเรื่องเป็นสิ่งที่คุณรู้สึกอยู่ลึกๆหรือเป็นประเภทที่ตัวตนของคุณร่ำร้องว่าต้องทำอย่างนั้น และคุณก็ควรจะลองเสี่ยงไปกับมันแทนที่จะรอฟังความเห็นคนอื่นๆ (ซึ่งก็มักจะเป็นตัวเบรกนั่นแหละ) ถ้าคุณรู้สึกกับอะไรมากๆหรือมีความฝันที่อยากทำในงาน ลองเสี่ยงกับมันบ้าง อย่าปล่อยให้การทำงานประสาคนออฟฟิศตีกรอบให้คุณไม่ได้ลงมือทำอะไรใหม่ๆ เลย 5. ให้ความช่วยเหลือคนอื่น ผมเชื่อว่าหลายๆคนมักจะเจอบรรยากาศประเภท “อย่าไปเสนอความคิดเห็นเลย ไม่ใช่เรื่องของเรา” อยู่บ่อยๆ และนั่นทำให้ในองค์กรมักเจอสถานการณ์พวกต่างคนต่างทำ แต่เอาจริงๆแล้วถ้าคุณรู้เรื่องบางเรื่องที่พอจะช่วยเหลือคนอื่นได้ มันก็คงไม่ได้แย่อะไรนักหรอกถ้าคุณจะยื่นมือเข้าไปช่วย หรือสนับสนุนคนอื่นๆ แม้ว่าเรื่องนั้นๆจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคุณเลยก็ตาม แน่นอนว่าการทำอย่างนั้นอาจจะถูกมองว่าเป็นพวกเสนอหน้า หรืออาจจะสร้างภาระให้กับตัวเอง แต่ในหลายๆครั้งที่คุณก้าวไปช่วยคนอื่นก็ทำให้คุณได้ผลประโยชน์ตามมาอย่างคาดไม่ถึงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นมิตรภาพ ตลอดไปจนความรู้บางอย่างที่คุณอาจจะไม่มีโอกาสได้รู้ถ้ายังคงง่วนอยู่กับงานตัวเองอย่างเดียวนั่นแหละครับ Credit:http://www.nuttaputch.com/5-risks-in-working-life-that-worth-to-take/
read more

วิธีสร้างความภูมิใจในการทำงาน

ความสุขในการทำงานของเรา จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากว่าเราไม่ได้มี “ความภูมิใจ” ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยที่มองข้ามไปไม่ได้เลยครับ เพราะนอกจากจะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุขแล้ว ยังช่วยให้เราพรีเซนต์ตัวเองตอนสัมภาษณ์งานได้อย่างมั่นใจอีกด้วย ส่วนวิธีจะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูกันเลย... 1.ตั้งเป้าหมายในการทำงาน...ถือเป็นข้อแรกในการสร้างความภูมิใจเลยครับ เพราะหากไม่มีเป้าหมายกับงานที่ทำ ก็เหมือนกับการทำงานแลกเงินไปวัน ๆ พร้อมทั้งความสุขในการทำงานก็ค่อย ๆ ลดน้อยลงไปด้วยนะ ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ลองตั้งเป้าหมายดูครับ อาจจะไม่ต้องยาวถึงอนาคตอันไหล แค่เป็นแบบโปรเจคไปก็เริ่มสร้างภูมิใจในการทำงานได้แล้วครับ 2. ทำอย่างเต็มที่...คงได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ว่าเหนื่อยมากยิ่งได้มาก การที่เราลงมือทำงานของเราอย่างสุดความสามารถนั้น เมื่องานสำเร็จเสร็จสิ้น พอมองย้อนกลับไปความภูมิใจก็จะเกิดขึ้นมาได้เหมือนกัน ยิ่งถ้าเป็นงานที่ยาก หรือการข้ามผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ได้ก็ยิ่งภูมิใจใช่ไหมครับ 3. ทำในสิ่งที่รัก...ไม่ว่าใครก็ต้องมีความฝัน หรือสิ่งที่อยากจะทำกันทั้งนั้น แม้ว่าบางทีจังหวะในชีวิตจะไม่เป็นใจก็ตาม  เพียงแต่เรายังมั่นคงกับสิ่งที่เรารัก สักวันเราจะต้องไปถึง และก้าวเดินไปกับสิ่งที่เรารักอย่างภาคภูมิใจแน่นอนครับ 4. การช่วยเหลือคนอื่น...แน่นอนว่าเราไม่ได้ทำงานทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยคนเดียวครับ การที่เรารู้จักมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้นจะทำให้งานออกมาดี แถมยังได้ภาคภูมิใจกับความสำเร็จนั้นไปด้วยกันกับทีมอีกด้วย 5.การเลี้ยงดูบุพการี ผ่อนภาระครอบครัว.....เมื่อเรามีรายได้ เราได้นำเงินส่วนนั้นมาจุนเจือครอบครัว หรือช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่ลงไปบ้าง ทำให้ท่านเหนื่อยน้อยลง ไม่ต้องมีเราไปเป็นภาระค่าใช้จ่ายของท่านอีก นี่ก็เป็นการมองย้อนที่เราควรจะภูมิใจได้เป็นอย่างดีเลยครับทั้งนี้ทั้งนั้น ความภูมิใจในงานที่ทำ ต้องไม่เกิดจากการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นด้วยนะครับ จึงจะเรียกได้ว่า ภูมิใจอย่างแท้จริง ด้วยความปราถนาดีจาก jobbkk.com และสำหรับข่าวสารดี มีสาระ พร้อมกิจกรรม เพื่อนๆ สามารถติดตามพวกเราได้ที่Youtube: https://www.youtube.com/user/jobbkkdotcomJOBBKK Facebook Fanpage: https://www.facebook.com/jobbkk
read more

สถานการณ์ปัจจุบันอันเกิดจากโรคระบาดประกันสังคมสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนเพิ่มเติมเพื่อลดความเดือดร้อนของผู้ประกันตนตามมาตรา33

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563 ประกันสังคมเริ่มจ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงาน ในอัตรา 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย อันเกิดจากโรคระบาดติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ.2563  สำหรับลูกจ้างผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือแรงงานที่มีนายจ้าง หลังจากได้ลงนามในกฎกระทรวงและประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ซึ่งมีจำนวนผู้ได้รับเงินรอบแรกนี้ราว 8 พันคน ผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์มี 2 กรณี คือ 1 ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ผู้ประกันตนมาทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ COVID – 19 2 ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเอง หรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของราชการ ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนไม่ได้รับค่าจ้าง ทั้งนี้ คุณทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ย้ำว่า ผู้ประกันตนที่จะได้รับเงินชดเชยต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องไม่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก และไม่ได้รับเงินค่าจ้างจากนายจ้าง โดยนายจ้างต้องมารับรองด้วยว่าเป็นลูกจ้างจริง และให้ข้อมูลเรื่องช่วงเวลาที่มีการหยุดงาน ซึ่งข้อมูลของลูกจ้างและนายจ้างต้องตรงกัน ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนได้ 2 ช่องทาง คือ 1 ยื่นขอรับผ่านออนไลน์ทางเว็บไซต์ www.sso.go.th เข้าไปที่เมนู กรอกแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทน คลิกที่นี่ !! จากนั้นคลิกที่เมนู แบบฟอร์มขอรับประโยชน์ กรณีว่างงาน (สำหรับลูกจ้าง/ผู้ประกันตน) ระบบจะมีลิงก์แบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (มาตรา 33 เท่านั้น) ให้คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วน 2 ยื่นขอรับด้วยวิธีปกติ สามารถดาวน์โหลดแบบขอรับผลประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) ได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th โดยพิมพ์แบบออกมากรอกข้อมูลพร้อมสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือส่งเอกสารทางโทรสาร (FAX) ของสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร/จังหวัด/สาขากำหนด   และนายจ้างต้องเข้าไปกรอกแบบฟอร์มผ่าน www.sso.go.th เช่นกัน โดยเลือกเมนู กรอกแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทน คลิกที่นี่ !! และคลิกที่เมนู ยืนยันการหยุดงานของลูกจ้าง อันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย (สำหรับนายจ้าง) จากนั้นจะมีลิงก์แบบหนังสือรับรองจากนายจ้าง เพื่อยืนยันการหยุดงานของลูกจ้าง เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ให้คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วน หรือเลือกวิธีติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร/จังหวัด/สาขากำหนด  ดูข้อมูลติดต่อสำนักงานได้ที่นี่ >> https://www.sso.go.th/eform_news/assets/sso-contacts.pdf ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิสามารถยื่นอุทธรณ์กับประกันสังคมได้ภายใน 30 วัน ขอบคุณข้อมูล : FB ไทยคู่ฟ้า (รัฐบาลไทย)  ,  www.sso.go.th
read more
Top