Blog

บุคลิกภาพแบบเราๆงานไหนที่เหมาะสมทำแล้วปัง

บุคลิกภาพหรือนิสัยส่วนตัวของคนหางานก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบอกว่าเราเหมาะกับอาชีพอะไรได้ด้วย เพราะถ้าอยากประสบความสำเร็จในการทำงาน การเลือกงานให้ตรงกับบุคลิกและนิสัยก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยผ่านแนวคิดการเลือกอาชีพของ จอห์น แอล ฮอลแลนด์ (John L. Holland) ผู้คิดค้นความสอดคล้องระหว่างอาชีพกับบุคลิก โดยแบ่งบุคลิกผู้สมัครงานออกเป็น 6 ประเภท ทั้งนี้การเลือกอาชีพก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้นด้วยว่าชอบอาชีพเหล่านี้หรือไม่

 

1. บุคลิกภาพแบบจริงจัง

ผู้สมัครงานที่ชอบกิจกรรมเกี่ยวกับการควบคุม การปฏิบัติการกับเครื่องยนต์กลไก หรือจำพวกเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ  ชอบงานประเภทใช้กำลังกาย การเคลื่อนไหวรวมไปถึงงานที่ต้องใช้ทักษะขี้เกรงใจ ถ่อมตน จริงใจ หนักแน่น ไม่เพ้อฝัน มีอารมณ์ที่มั่นคง ไม่ท้อกับอะไรง่าย ๆ

อาชีพที่เหมาะสม : พนักงานป่าไม้ เกษตรกร นักวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญทางเอกซเรย์ นักเดินเรือ ไกด์นำเที่ยว นักวิจัย หมอ พยาบาล เป็นต้น

 

2. บุคลิกภาพแบบการใช้ปัญญา และความคิดแบบนักวิชาการ

ผู้สมัครงานที่ชอบวิเคราะห์และการประเมินอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ช่างสงสัย ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ มีเหตุผล ละเอียดรอบคอบ อนุรักษ์นิยม นิสัยชอบแก้ตัว ไม่ชอบสังคมมาก ชอบงานอิสระ ไม่ชอบเอาอย่างใคร พึ่งพาตัวเองได้ มีความมั่นใจในตัวเอง ชอบคิดชอบฝัน

อาชีพที่เหมาะสม : นักเศรษฐศาสตร์ แพทย์  นักวางแผน นักวิทยาศาสตร์   ครูสอนคณิตศาสตร์ นักกายภาพ จักษุแพทย์ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ นักสมุทรศาสตร์ นักสถิติ เป็นต้น

 

3. บุคลิกภาพแบบศิลปิน

ผู้สมัครงานชอบแสดงออก เป็นตัวของตัวเองสูง เพ้อฝัน รักอิสระ ไม่คล้อยตามใครง่าย ไม่ชอบอยู่ใต้บังคับบัญชา ชอบริเริ่มไม่เอาอย่างใคร ไม่ชอบความจำเจ หรืองานที่มีกฎระเบียบแน่นอน ช่างฝัน อ่อนไหวง่าย ชอบแสดงออก

อาชีพ : ผู้กำกับการแสดงละคร นักดนตรี นักโฆษณา นักแสดง นักประชาสัมพันธ์ ผู้ทำรายการวิทยุ นักออกแบบ นักวิจารณ์ สถาปนิก จิตรกร นักถ่ายภาพ นักแต่งเพลง นักเขียนบท เป็นต้น

 

4. บุคลิกภาพแบบบริการสังคม และชอบสมาคม

ผู้สมัครงานที่ชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยคนที่มีปัญหาทางจิตใจ แต่ไม่ชอบให้ใครสั่ง หรืออยู่ใต้บังคับบัญชาของใคร ชอบให้ความรู้ สนทนาและสังสรรค์กับผู้อื่น มีความเข้าใจคนอื่นได้ดี กล้าแสดงออก เป็นกันเอง ร่าเริง มีความเมตตากรุณา

อาชีพ : ผู้บริหารงานชุมชน ตัวแทนธุรกิจ จิตแพทย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักรัฐศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล ผู้ทำงานในชุมชน ผู้อำนวยการทางด้านบุคลากร ครู บรรณารักษ์ ข้าราชการต่างประเทศ เป็นต้น

 

5. บุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ

ผู้สมัครงานที่ชอบกิจกรรมที่มีอิทธิพลเหนือคนอื่น ใช้ทักษะในทางพูดจา มีความเป็นผู้นำสูง ชอบแสดงความคิดเห็น มีทักษะในการพูดเพื่อโน้มน้าว ตรงไปตรงมา กล้าตัดสินใจ กล้าโต้แย้ง กล้าคิดกล้าทำ กล้าเสี่ยง ชอบการแข่งขันทะเยอทะยาน คล่องแคล่ว ว่องไว มีความรับผิดชอบ มีระเบียบ และชอบการวางแผนให้บรรลุเป้าหมาย

อาชีพ : ทนายความ ผู้พิพากษา ข้าราชการ นักการเมือง เจ้าของกิจการ นักขับเคลื่อนสังคม พิธีกร นักธุรกิจ นักการตลาด นายธนาคาร เป็นต้น

 

6. บุคลิกภาพแบบยึดมั่นและมีระเบียบแบบแผน

ผู้สมัครงานที่ชอบทำงานเกี่ยวกับตัวเลข การนับจำนวน ชอบบทบาทที่เป็น ผู้ใต้บังคับบัญชา พอใจที่จะคล้อยตาม หรือช่วยฟังบุคคลอื่น ไม่ชอบเป็นผู้นำ เลี่ยงการโต้แย้ง ไม่ชอบงานที่ใช้ทักษะทางร่างกาย ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เจ้าระเบียบ มีความเป็นอนุรักษ์นิยมมาก

อาชีพ : เลขานุการ เสมียน เจ้าหน้าที่ธุรการ นักบัญชี ผู้ตรวจบัญชี บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่คลังสินค้าเป็นต้น

 

บทความโดย  : นายปานเทพ สุระพันธ์

  • Share :

Article

5การเสี่ยงในชีวิตการทำงานที่คุณควรลองทำดู

การเสี่ยงคงเป็นเรื่องที่พูดให้ลองก็เหมือนจะง่ายแต่ทำจริงๆ ก็คงจะยากอยู่เหมือนกัน ผมเองเขียนเรื่องการพัฒนาตัวเองซึ่งประเด็นว่าด้วยการเสี่ยงก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ถูกพูดถึงบ่อยๆ แต่ก็ใช่ว่าทำได้ง่ายๆ และพอมาเป็นเรื่องของหน้าที่การงานหรือการตัดสินใจในการทำงานก็จะยิ่งแล้วใหญ่ (เพราะมันก็เกี่ยวกับอนาคตของคนเลยก็ว่าได้) วันก่อนผมก็ไปอ่านบทความของ The Muse ว่าด้วยการเสี่ยง (หรือการตัดสินใจ) บางอย่างในการทำงานซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเสี่ยงอยู่มาก แต่ก็เป็นเรื่องที่คุณควรจะลองเสี่ยงอยู่เหมือนกัน (ในบทความถึงกับใช้คำว่าถ้าคุณไม่เสี่ยงจะเสียใจเลยทีเดียว) เลยขอหยิบเอาแนวคิดจากบทความนั้นมาเล่าสู่กันฟังพอเป็นไอเดียให้พิจารณาแล้วกันนะครับ 1. จ้างหรือให้โอกาสคนที่ไม่น่าจ้าง เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าคุณควรเลือกคนประเภทสุดขั้วชนิดไม่ควรเอามาทำงานหรอกนะครับ แต่มันหมายถึงการลองมองเห็นความสามารถของคนมากไปกว่า Resume ที่ส่งเข้ามาให้คุณกรองต่างหาก เรื่องนี้มีสถิติน่าสนใจเพราะ Jeff Harden ซึ่งเป็นคนเขียนบทความนั้นทำแบบสอบถามบรรดาผู้ประกอบการต่างๆ ซึ่งก็พบว่าหนึ่งในบรรดาลูกจ้างที่โดดเด่นชนิดเป็นเพชรของบริษัทคือคนประเภทที่ตอนสมัครนั้นไม่ใช่พวกที่ตรงกับ Qualification เลย เรื่องความสามารถของพนักงานนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าคิดอยู่พอสมควร เพราะคนส่วนใหญ่มักมองเรื่องทักษะและประสบการณ์เป็นส่วนสำคัญในการคัดเลือก ทำให้เรามักมองหาคนจากประวัติการศึกษาและประวัติการทำงาน แต่หลายๆ ทีเราจะเจอคนเก่งๆ ที่ประสบการณ์ยังน้อยแต่เต็มไปด้วย “ไหวพริบ” “ทัศนคติ” และ “วิสัยทัศน์” ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหาได้จากประวัติการทำงานเลย และนี่อาจจะเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่คุณอาจจะต้องคิดกันเสียหน่อยเวลาหาคนมาทำงานให้กับองค์กรของคุณครั้งต่อไปล่ะ 2. ขอโทษกับความล้มเหลวที่เกิดขึ้น บางครั้งเรามักจะเจอสถานการณ์ที่ได้ทำความผิดพลาดครั้งใหญ่ไปจนประเภทอยากจะมุดดินหนี ไม่กล้าที่จะขอโทษเพราะมันจะยิ่งทำให้ภาพลักษณ์หรือประวัติของเราแย่ แต่ก็อีกนั่นแหละที่บางครั้งการขอโทษอาจจะทำให้คุณได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าก็ได้ (อันที่จริงการขอโทษไม่ใช่เรื่องแย่แต่อย่างใดเลยด้วยซ้ำ) แม้ว่าการยอมรับความผิดพลาดนั้นจะทำให้คุณดูแย่ในสายตาหลายๆคน จะทำให้คุณต้องพบกับความอับอาย แต่เชื่อเถอะว่าต่อให้คุณไม่ได้รับผิดมันก็แย่อยู่แล้ว การที่คุณกล้าเสี่ยงขอโทษนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ทำให้ตัวคุณหลุดจากบ่วงหรือความอึดอัดหลายอย่างได้ในภายหลัง ผมลองคิดๆดูแล้ว ชีวิตคนเรามีหลายสิ่งที่เป็นความทรงจำฝังใจ และมันมักทำให้เรารู้สึกจี๊ดใจเวลานึกถึงอยู่เหมือนแผลที่ไม่เคยถูกรักษา ซึ่งมันก็อาจจะดีกว่าถ้าคุณต้องเจ็บสักครั้งแต่ทำให้แผลนั้นหายหรือไม่ติดค้างอะไรอีกต่อไปนั่นแหละ 3. เผชิญหน้ากับสิ่งที่คุณกลัวที่สุด คนเราล้วนมีความกลัว ล้วนมีบางเรื่องที่รู้สึกไม่มั่นใจเป็นเรื่องธรรมดา การงานก็เช่นกันที่คุณจะมีงานที่คุณกลัวที่จะทำ หรือกับสายงานที่คุณลำบากใจหากต้องไปยุ่ง แต่ก็อย่างว่าแหละครับว่าในบรรดาสิ่งที่คุณกลัวหรือคุณไม่กล้าเผชิญนั้นก็ย่อมแฝงไว้ด้วยโอกาสซึ่งคุณไม่เคยเข้าไปแตะต้องมัน และถ้าคุณกล้าจะเสี่ยงไปเผชิญหน้าหรือลองทำมันแล้ว ดีไม่ดีมันจะออกมากลายเป็นว่าคุณได้โอกาสอย่างไม่น่าเชื่อเลยก็ได้ เรื่องนี้ก็อาจจะเป็นสิ่งน่าคิดว่าคนทำงานเก่งๆนั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีเรื่องที่กลัว เพียงแต่เขารู้ว่าการอยู่กับความกลัวตลอดไปไม่น่าจะใช่คำตอบเสียทีเดียว พวกเขาเลยลองทำโน่นทำนี่ กล้าที่จะเสี่ยงกับบางอย่างใหม่ๆที่อาจจะไม่เคยทำ (และบางอย่างก็เป็นสิ่งที่เขากลัวด้วย) และการที่เขาลองทำอะไรนี่แหละทำให้ศักยภาพของเขามากขึ้นกว่าเดิมเรื่อยๆและสุดท้ายกลายเป็นว่าเขาสามารถทำสิ่งต่างๆได้มากมายกว่าคนทั่วๆไปนั่นแหละครับ 4. ทำในสิ่งที่คุณอยากทำแม้ว่าจะไม่ตรงกับสิ่งที่คนอื่นคาดหวัง เรามักเห็นบ่อยๆว่าไอเดียบรรเจิดๆของคนๆหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จนั้นเป็นอะไรที่ “ผ่าเหล่า” บ้างก็ชนิดคนทั่วไปคงร้องยี้หรือเบือนหน้าหนี แน่นอนว่าปรกติแล้วคนรอบข้างคุณก็มักจะมีความเห็นหลายๆอย่างซึ่งก็จะมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับคุณแต่ก็นั่นแหละที่ถ้าคุณเอาแต่ฟังคนอื่นเพื่อมาคอยคอนเฟิร์มคิดอยู่ตลอดก็คงจะไม่ใช่เรื่องเข้าท่าสักเท่าไร บางเรื่องเป็นสิ่งที่คุณรู้สึกอยู่ลึกๆหรือเป็นประเภทที่ตัวตนของคุณร่ำร้องว่าต้องทำอย่างนั้น และคุณก็ควรจะลองเสี่ยงไปกับมันแทนที่จะรอฟังความเห็นคนอื่นๆ (ซึ่งก็มักจะเป็นตัวเบรกนั่นแหละ) ถ้าคุณรู้สึกกับอะไรมากๆหรือมีความฝันที่อยากทำในงาน ลองเสี่ยงกับมันบ้าง อย่าปล่อยให้การทำงานประสาคนออฟฟิศตีกรอบให้คุณไม่ได้ลงมือทำอะไรใหม่ๆ เลย 5. ให้ความช่วยเหลือคนอื่น ผมเชื่อว่าหลายๆคนมักจะเจอบรรยากาศประเภท “อย่าไปเสนอความคิดเห็นเลย ไม่ใช่เรื่องของเรา” อยู่บ่อยๆ และนั่นทำให้ในองค์กรมักเจอสถานการณ์พวกต่างคนต่างทำ แต่เอาจริงๆแล้วถ้าคุณรู้เรื่องบางเรื่องที่พอจะช่วยเหลือคนอื่นได้ มันก็คงไม่ได้แย่อะไรนักหรอกถ้าคุณจะยื่นมือเข้าไปช่วย หรือสนับสนุนคนอื่นๆ แม้ว่าเรื่องนั้นๆจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคุณเลยก็ตาม แน่นอนว่าการทำอย่างนั้นอาจจะถูกมองว่าเป็นพวกเสนอหน้า หรืออาจจะสร้างภาระให้กับตัวเอง แต่ในหลายๆครั้งที่คุณก้าวไปช่วยคนอื่นก็ทำให้คุณได้ผลประโยชน์ตามมาอย่างคาดไม่ถึงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นมิตรภาพ ตลอดไปจนความรู้บางอย่างที่คุณอาจจะไม่มีโอกาสได้รู้ถ้ายังคงง่วนอยู่กับงานตัวเองอย่างเดียวนั่นแหละครับ Credit:http://www.nuttaputch.com/5-risks-in-working-life-that-worth-to-take/
read more

วิธีสร้างความภูมิใจในการทำงาน

ความสุขในการทำงานของเรา จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากว่าเราไม่ได้มี “ความภูมิใจ” ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยที่มองข้ามไปไม่ได้เลยครับ เพราะนอกจากจะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุขแล้ว ยังช่วยให้เราพรีเซนต์ตัวเองตอนสัมภาษณ์งานได้อย่างมั่นใจอีกด้วย ส่วนวิธีจะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูกันเลย... 1.ตั้งเป้าหมายในการทำงาน...ถือเป็นข้อแรกในการสร้างความภูมิใจเลยครับ เพราะหากไม่มีเป้าหมายกับงานที่ทำ ก็เหมือนกับการทำงานแลกเงินไปวัน ๆ พร้อมทั้งความสุขในการทำงานก็ค่อย ๆ ลดน้อยลงไปด้วยนะ ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ลองตั้งเป้าหมายดูครับ อาจจะไม่ต้องยาวถึงอนาคตอันไหล แค่เป็นแบบโปรเจคไปก็เริ่มสร้างภูมิใจในการทำงานได้แล้วครับ 2. ทำอย่างเต็มที่...คงได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ว่าเหนื่อยมากยิ่งได้มาก การที่เราลงมือทำงานของเราอย่างสุดความสามารถนั้น เมื่องานสำเร็จเสร็จสิ้น พอมองย้อนกลับไปความภูมิใจก็จะเกิดขึ้นมาได้เหมือนกัน ยิ่งถ้าเป็นงานที่ยาก หรือการข้ามผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ได้ก็ยิ่งภูมิใจใช่ไหมครับ 3. ทำในสิ่งที่รัก...ไม่ว่าใครก็ต้องมีความฝัน หรือสิ่งที่อยากจะทำกันทั้งนั้น แม้ว่าบางทีจังหวะในชีวิตจะไม่เป็นใจก็ตาม  เพียงแต่เรายังมั่นคงกับสิ่งที่เรารัก สักวันเราจะต้องไปถึง และก้าวเดินไปกับสิ่งที่เรารักอย่างภาคภูมิใจแน่นอนครับ 4. การช่วยเหลือคนอื่น...แน่นอนว่าเราไม่ได้ทำงานทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยคนเดียวครับ การที่เรารู้จักมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้นจะทำให้งานออกมาดี แถมยังได้ภาคภูมิใจกับความสำเร็จนั้นไปด้วยกันกับทีมอีกด้วย 5.การเลี้ยงดูบุพการี ผ่อนภาระครอบครัว.....เมื่อเรามีรายได้ เราได้นำเงินส่วนนั้นมาจุนเจือครอบครัว หรือช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่ลงไปบ้าง ทำให้ท่านเหนื่อยน้อยลง ไม่ต้องมีเราไปเป็นภาระค่าใช้จ่ายของท่านอีก นี่ก็เป็นการมองย้อนที่เราควรจะภูมิใจได้เป็นอย่างดีเลยครับทั้งนี้ทั้งนั้น ความภูมิใจในงานที่ทำ ต้องไม่เกิดจากการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นด้วยนะครับ จึงจะเรียกได้ว่า ภูมิใจอย่างแท้จริง ด้วยความปราถนาดีจาก jobbkk.com และสำหรับข่าวสารดี มีสาระ พร้อมกิจกรรม เพื่อนๆ สามารถติดตามพวกเราได้ที่Youtube: https://www.youtube.com/user/jobbkkdotcomJOBBKK Facebook Fanpage: https://www.facebook.com/jobbkk
read more

สถานการณ์ปัจจุบันอันเกิดจากโรคระบาดประกันสังคมสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนเพิ่มเติมเพื่อลดความเดือดร้อนของผู้ประกันตนตามมาตรา33

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563 ประกันสังคมเริ่มจ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงาน ในอัตรา 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย อันเกิดจากโรคระบาดติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ.2563  สำหรับลูกจ้างผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือแรงงานที่มีนายจ้าง หลังจากได้ลงนามในกฎกระทรวงและประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ซึ่งมีจำนวนผู้ได้รับเงินรอบแรกนี้ราว 8 พันคน ผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์มี 2 กรณี คือ 1 ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ผู้ประกันตนมาทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ COVID – 19 2 ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเอง หรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของราชการ ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนไม่ได้รับค่าจ้าง ทั้งนี้ คุณทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ย้ำว่า ผู้ประกันตนที่จะได้รับเงินชดเชยต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องไม่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก และไม่ได้รับเงินค่าจ้างจากนายจ้าง โดยนายจ้างต้องมารับรองด้วยว่าเป็นลูกจ้างจริง และให้ข้อมูลเรื่องช่วงเวลาที่มีการหยุดงาน ซึ่งข้อมูลของลูกจ้างและนายจ้างต้องตรงกัน ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนได้ 2 ช่องทาง คือ 1 ยื่นขอรับผ่านออนไลน์ทางเว็บไซต์ www.sso.go.th เข้าไปที่เมนู กรอกแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทน คลิกที่นี่ !! จากนั้นคลิกที่เมนู แบบฟอร์มขอรับประโยชน์ กรณีว่างงาน (สำหรับลูกจ้าง/ผู้ประกันตน) ระบบจะมีลิงก์แบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (มาตรา 33 เท่านั้น) ให้คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วน 2 ยื่นขอรับด้วยวิธีปกติ สามารถดาวน์โหลดแบบขอรับผลประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) ได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th โดยพิมพ์แบบออกมากรอกข้อมูลพร้อมสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือส่งเอกสารทางโทรสาร (FAX) ของสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร/จังหวัด/สาขากำหนด   และนายจ้างต้องเข้าไปกรอกแบบฟอร์มผ่าน www.sso.go.th เช่นกัน โดยเลือกเมนู กรอกแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทน คลิกที่นี่ !! และคลิกที่เมนู ยืนยันการหยุดงานของลูกจ้าง อันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย (สำหรับนายจ้าง) จากนั้นจะมีลิงก์แบบหนังสือรับรองจากนายจ้าง เพื่อยืนยันการหยุดงานของลูกจ้าง เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ให้คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วน หรือเลือกวิธีติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร/จังหวัด/สาขากำหนด  ดูข้อมูลติดต่อสำนักงานได้ที่นี่ >> https://www.sso.go.th/eform_news/assets/sso-contacts.pdf ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิสามารถยื่นอุทธรณ์กับประกันสังคมได้ภายใน 30 วัน ขอบคุณข้อมูล : FB ไทยคู่ฟ้า (รัฐบาลไทย)  ,  www.sso.go.th
read more
Top