การพัฒนาตัวเองและเตรียมความพร้อมในการทำงานในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ

คนทำงานต้องปรับตัวอย่างไร หากมีการระบาดอีกครั้ง โควิด-19

 

ในสถานการณ์ที่อ่อนไหวแบบนี้กับสถานการณ์โควิด-19 ที่อยู่ๆก็มีบุคคลภายในประเทศติดเชื้ออีกครั้ง ทำให้องค์กรและภาคธุรกิจกลับมาระมัดระวังมากขึ้นกว่าเดิม เราต้องยอมรับว่าในช่วงนี้ที่สถานการณ์เหมือนจะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ในสภาวะการจ้างงานก็ยังมีความระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่องค์กรระดับใหญ่ของประเทศ หรือองค์กรระดับกลาง ไปถึงองค์กรระดับเล็กๆ ที่ปิดกิจการไปจำนวนมาก แต่ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรผู้สมัครงานหรือคนหางาน ก็ต้องปรับตัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีทำงาน การพัฒนาตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้อยู่รอดในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ทางกลับกันถ้าหากองค์กรดูแลพนักงานไม่ดี คิดแต่ผลประโยชน์ที่จะได้รับโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของพนักงานซึ่งมีส่วนในการขับเคลื่อนองค์กรได้ พนักงานเก่งๆอาจจะทิ้งองค์กรเหล่านั้นเพื่อไปหาสวัสดิการในการชีวิตที่ดีกว่า เพราะเห็นได้ชัดว่าหลายๆองค์กรอาศัยในสถานการณ์นี้เลิกจ้างพนักงานออกเป็นจำนวนมากคิดเพียงแค่ว่า อยากลดอัตราค่าใช้จ่ายในองค์กร จนลืมนึกถึงหลังสถานการณ์นี้ องค์กรก็จะขับเคลื่อนช้ากับคู่แข่งแน่นอน กลับมาด้านการพัฒนาตนเองของพนักงานและคนทำงานในสถานการณ์นี้ หากการระบาดจะกลับมาอีกครั้ง 5 สิ่งสำคัญในการทำงานยุคนี้ ดังนี้

  1. ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา บนสมาร์ตโฟน และอุปกรณ์พกพา :  การทำงานกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ตั้งโต๊ะเป็นเรื่องล้าหลังไปแล้ว  มีคนจำนวนไม่น้อยปรับตัวในการทำงานผ่านระบบเทคโนโลยีพกพามานานก่อนจะเกิดสถานการณ์โควิด-19 เราจะสังเกตได้ว่าในช่วงปีสองปีนี้มีคนทำงานไม่น้อยที่ทำงานผ่านระบบเทคโนโลยีนี้ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น แถมการทำงานโดยอุปกรณ์พกพานี้ยังลดต้นทุนด้านไอทีขององค์กรได้อีกด้วย
  2. ระบบการสื่อสาร โลกาภิวัฒน์ช่วยเชื่อมต่อโลกในการทำงานอย่างไม่มีขีดจำกัด : การสื่อสารปัจจุบันผู้สมัครงานต้องปรับตัวและเพิ่มความรู้ในด้านนี้ให้มากขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานของผู้สมัครงาน หากผู้สมัครงานมีความรู้ความสามารถในด้านการสื่อสารและฟังก์ชั่นการสื่อสารระบบออนไลน์ ก็จะทำให้ผู้สมัครงานมีศักยภาพในการทำงานมากขึ้นและพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา แถมยังต่อยอดในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มตัว
  3. การเพิ่มความรู้ความเข้าใจในระบบ  คลาวด์ คือหัวในการทำงานร่วมกัน : ระบบการประมวลผล และการจัดเก็บข้อมูลบนฐานข้อมูลออนไลน์ ในรูปแบบ คลาวด์ จะเข้ามามีบทบาทในการเป็นศูนย์กลางของการทำงานร่วมกัน ช่วยให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลในการทำงาน ทั้งในส่วนขององค์กรที่สามารถเฝ้าดูการทำงานจากระยะไกล และทีมงานที่สามารถโต้ตอบกันได้ด้วยการทำงานร่วมกันผ่านทางวิดีโอตลอดเวลา
  4. การพัฒนาตัวเองในการใช้งานระบบซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว : การดำเนินงานขององค์กรยุคใหม่ต้องมีความยืดหยุ่น และคล่องตัวมากขึ้นกว่าเดิม โดยเน้นให้คนทำงานทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันได้ การมีโปรแกรมซอฟต์แวร์ในองค์กร ตัวของคนนทำงานก็ต้องเรียนรู้ในระบบการทำงานรูปแบบเหล่านี้ เพื่อจะได้ง่ายต่อการปฏิบัติงานต่อไป
  5. การมีทักษะพิเศษเพิ่มเติม : การพัฒนาตัวในการทำงานเพิ่มทักษะที่จำเป็นและสามารถนำไปต่อยอดกับสายงานของตนเองและรวมถึงทักษะที่นอกเหนือจากที่เคยทำมา จะช่วยให้คนทำงานเปิดทัศนคติและมีความรู้ความสามารถในการทำงานมากขึ้น แถมยังเพิ่มศักยภาพในการทำงานได้อีกทางด้วย

บทความโดย : พงศิษฐ์​ ด่านประเสริฐกุล

  • Share :

Article

5การเสี่ยงในชีวิตการทำงานที่คุณควรลองทำดู

การเสี่ยงคงเป็นเรื่องที่พูดให้ลองก็เหมือนจะง่ายแต่ทำจริงๆ ก็คงจะยากอยู่เหมือนกัน ผมเองเขียนเรื่องการพัฒนาตัวเองซึ่งประเด็นว่าด้วยการเสี่ยงก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ถูกพูดถึงบ่อยๆ แต่ก็ใช่ว่าทำได้ง่ายๆ และพอมาเป็นเรื่องของหน้าที่การงานหรือการตัดสินใจในการทำงานก็จะยิ่งแล้วใหญ่ (เพราะมันก็เกี่ยวกับอนาคตของคนเลยก็ว่าได้) วันก่อนผมก็ไปอ่านบทความของ The Muse ว่าด้วยการเสี่ยง (หรือการตัดสินใจ) บางอย่างในการทำงานซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเสี่ยงอยู่มาก แต่ก็เป็นเรื่องที่คุณควรจะลองเสี่ยงอยู่เหมือนกัน (ในบทความถึงกับใช้คำว่าถ้าคุณไม่เสี่ยงจะเสียใจเลยทีเดียว) เลยขอหยิบเอาแนวคิดจากบทความนั้นมาเล่าสู่กันฟังพอเป็นไอเดียให้พิจารณาแล้วกันนะครับ 1. จ้างหรือให้โอกาสคนที่ไม่น่าจ้าง เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าคุณควรเลือกคนประเภทสุดขั้วชนิดไม่ควรเอามาทำงานหรอกนะครับ แต่มันหมายถึงการลองมองเห็นความสามารถของคนมากไปกว่า Resume ที่ส่งเข้ามาให้คุณกรองต่างหาก เรื่องนี้มีสถิติน่าสนใจเพราะ Jeff Harden ซึ่งเป็นคนเขียนบทความนั้นทำแบบสอบถามบรรดาผู้ประกอบการต่างๆ ซึ่งก็พบว่าหนึ่งในบรรดาลูกจ้างที่โดดเด่นชนิดเป็นเพชรของบริษัทคือคนประเภทที่ตอนสมัครนั้นไม่ใช่พวกที่ตรงกับ Qualification...
read more

วิธีสร้างความภูมิใจในการทำงาน

ความสุขในการทำงานของเรา จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากว่าเราไม่ได้มี “ความภูมิใจ” ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยที่มองข้ามไปไม่ได้เลยครับ เพราะนอกจากจะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุขแล้ว ยังช่วยให้เราพรีเซนต์ตัวเองตอนสัมภาษณ์งานได้อย่างมั่นใจอีกด้วย ส่วนวิธีจะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูกันเลย... 1.ตั้งเป้าหมายในการทำงาน...ถือเป็นข้อแรกในการสร้างความภูมิใจเลยครับ เพราะหากไม่มีเป้าหมายกับงานที่ทำ ก็เหมือนกับการทำงานแลกเงินไปวัน ๆ พร้อมทั้งความสุขในการทำงานก็ค่อย ๆ ลดน้อยลงไปด้วยนะ ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ลองตั้งเป้าหมายดูครับ อาจจะไม่ต้องยาวถึงอนาคตอันไหล แค่เป็นแบบโปรเจคไปก็เริ่มสร้างภูมิใจในการทำงานได้แล้วครับ 2. ทำอย่างเต็มที่...คงได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ว่าเหนื่อยมากยิ่งได้มาก การที่เราลงมือทำงานของเราอย่างสุดความสามารถนั้น เมื่องานสำเร็จเสร็จสิ้น พอมองย้อนกลับไปความภูมิใจก็จะเกิดขึ้นมาได้เหมือนกัน ยิ่งถ้าเป็นงานที่ยาก หรือการข้ามผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ได้ก็ยิ่งภูมิใจใช่ไหมครับ 3. ทำในสิ่งที่รัก...ไม่ว่าใครก็ต้องมีความฝัน หรือสิ่งที่อยากจะทำกันทั้งนั้น แม้ว่าบางทีจังหวะในชีวิตจะไม่เป็นใจก็ตาม  เพียงแต่เรายังมั่นคงกับสิ่งที่เรารัก สักวันเราจะต้องไปถึง...
read more

สถานการณ์ปัจจุบันอันเกิดจากโรคระบาดประกันสังคมสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนเพิ่มเติมเพื่อล...

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563 ประกันสังคมเริ่มจ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงาน ในอัตรา 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย อันเกิดจากโรคระบาดติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ.2563  สำหรับลูกจ้างผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือแรงงานที่มีนายจ้าง หลังจากได้ลงนามในกฎกระทรวงและประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ซึ่งมีจำนวนผู้ได้รับเงินรอบแรกนี้ราว 8 พันคน ผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์มี 2 กรณี คือ 1 ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ผู้ประกันตนมาทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ COVID – 19 2 ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเอง หรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของราชการ ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนไม่ได้รับค่าจ้าง ทั้งนี้ คุณทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ย้ำว่า ผู้ประกันตนที่จะได้รับเงินชดเชยต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องไม่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก และไม่ได้รับเงินค่าจ้างจากนายจ้าง โดยนายจ้างต้องมารับรองด้วยว่าเป็นลูกจ้างจริง และให้ข้อมูลเรื่องช่วงเวลาที่มีการหยุดงาน...
read more
Top