Blog

Blog

เด็กจบใหม่เตรียมตัวอย่างไรให้ได้งานปังๆ

เชื่อว่าผู้สมัครงานหรือน้องๆที่จบใหม่หลายๆคนคงมีความกังวลใจเรื่องการเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน คำถามต่างๆที่ต้องเจอวันนี้เราจะมาแนะนำการเตรียมตัวและคำถามที่ต้องเจอมาฝากกัน ในยุคปัจจุบันเราก็มองเห็นได้ชัดว่า การเตรียมความพร้อมตัวในการหางานสมัครงานเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้เรามีงานทำ และได้งานที่ตรงใจมากที่สุด เรามีเทคนิค 6 ขั้นตอนการเตรียมความก่อนก้าวสู่โลกแห่งการทำงาน ดังนี้ เอกสารในการสมัครงาน หางาน ประวัติ เรื่องนี้สำคัญมากเป็นความพร้อมอันดับต้นๆที่ทางบริษัทจะดูคุณว่ามีความพร้อมในการสมัครงานแค่ไหน เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจในการพบกันครั้งแรกของคุณ ผู้หญิงอาจจะสวมใส่เสื้อเชิ้ตหรือกระโปรง รองเท้าหุ้มส้น หากเป็นชุดแซกไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไปชุดสีสันเรียบร้อยไม่ฉูดฉาดเกินไป ผู้ชายกางเกงแสล็ค เสื้อเชิ้ตแขนสั้นหรือยาวก็ได้ รองเท้าหุ้มหนัง ไม่ควรสวมใส่กางเกงยีนส์เด็ดขาด ข้อมูลบริษัทที่เราต้องไปสัมภาษณ์ ถือคติที่ว่ารู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง การหาข้อมูลบริษัทนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่นประวัติบริษัท บริษัทประกอบธุรกิจอะไร พนักงานจำนวนกี่คน สิ่งเหล่านี้ยังจะเป็นข้อมุลในการประกอบการตัดสินใจของคุณด้วย หาจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง เป็นคำถามยอดฮิตเลยก็ว่าได้ฝ่ายบุคคลมักจะถามคำถามนี้เสมอ แน่นอนหากคุณตอบมันได้ดีคุณจะได้รับผลสัมภาษณ์งานที่น่าพอใจ ควรไปถึงก่อนเวลา10-15นาที การนัดสัมภาษณ์นั้นสำคัญมากบางบริษัทอาจจะตัดสินคุณจากเวลานัดเลยก็เป็นได้เพราะฉะนั้นควรไปก่อนเวลาเพื่อเตรียมเอกสาร เตรียมข้อมูลในการสัมภาษณ์ ปิดเสียงมือถือหรือควรหยุดเล่นมือถือในระหว่างการรอสัมภาษณ์ อาจจะมองเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่นั้นหมายถึงมารยาทในการสัมภาษณ์อย่างนึงก็ว่าได้ ควรปิดเสียงระหว่างสัมภาษณ์หรือระหว่างรอควรนั่งมองสำรวจสถานที่หรือสังเกตผู้สมัครที่มาสัมภาษณ์พร้อมกันจะดีกว่าค่ะ สุดท้ายนี้เมื่อเราทำเต็มที่ผลตอบรับจะออกมาดีเสมอ Blow them away!!!
อ่านเพิ่มเติม

บุคลิกภาพแบบเราๆงานไหนที่เหมาะสมทำแล้วปัง

บุคลิกภาพหรือนิสัยส่วนตัวของคนหางานก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบอกว่าเราเหมาะกับอาชีพอะไรได้ด้วย เพราะถ้าอยากประสบความสำเร็จในการทำงาน การเลือกงานให้ตรงกับบุคลิกและนิสัยก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยผ่านแนวคิดการเลือกอาชีพของ จอห์น แอล ฮอลแลนด์ (John L. Holland) ผู้คิดค้นความสอดคล้องระหว่างอาชีพกับบุคลิก โดยแบ่งบุคลิกผู้สมัครงานออกเป็น 6 ประเภท ทั้งนี้การเลือกอาชีพก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้นด้วยว่าชอบอาชีพเหล่านี้หรือไม่   1. บุคลิกภาพแบบจริงจัง ผู้สมัครงานที่ชอบกิจกรรมเกี่ยวกับการควบคุม การปฏิบัติการกับเครื่องยนต์กลไก หรือจำพวกเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ  ชอบงานประเภทใช้กำลังกาย การเคลื่อนไหวรวมไปถึงงานที่ต้องใช้ทักษะขี้เกรงใจ ถ่อมตน จริงใจ หนักแน่น ไม่เพ้อฝัน มีอารมณ์ที่มั่นคง ไม่ท้อกับอะไรง่าย ๆ อาชีพที่เหมาะสม : พนักงานป่าไม้ เกษตรกร นักวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญทางเอกซเรย์ นักเดินเรือ ไกด์นำเที่ยว นักวิจัย หมอ พยาบาล เป็นต้น   2. บุคลิกภาพแบบการใช้ปัญญา และความคิดแบบนักวิชาการ ผู้สมัครงานที่ชอบวิเคราะห์และการประเมินอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ช่างสงสัย ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ มีเหตุผล ละเอียดรอบคอบ อนุรักษ์นิยม นิสัยชอบแก้ตัว ไม่ชอบสังคมมาก ชอบงานอิสระ ไม่ชอบเอาอย่างใคร พึ่งพาตัวเองได้ มีความมั่นใจในตัวเอง ชอบคิดชอบฝัน อาชีพที่เหมาะสม : นักเศรษฐศาสตร์ แพทย์  นักวางแผน นักวิทยาศาสตร์   ครูสอนคณิตศาสตร์ นักกายภาพ จักษุแพทย์ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ นักสมุทรศาสตร์ นักสถิติ เป็นต้น   3. บุคลิกภาพแบบศิลปิน ผู้สมัครงานชอบแสดงออก เป็นตัวของตัวเองสูง เพ้อฝัน รักอิสระ ไม่คล้อยตามใครง่าย ไม่ชอบอยู่ใต้บังคับบัญชา ชอบริเริ่มไม่เอาอย่างใคร ไม่ชอบความจำเจ หรืองานที่มีกฎระเบียบแน่นอน ช่างฝัน อ่อนไหวง่าย ชอบแสดงออก อาชีพ : ผู้กำกับการแสดงละคร นักดนตรี นักโฆษณา นักแสดง นักประชาสัมพันธ์ ผู้ทำรายการวิทยุ นักออกแบบ นักวิจารณ์ สถาปนิก จิตรกร นักถ่ายภาพ นักแต่งเพลง นักเขียนบท เป็นต้น   4. บุคลิกภาพแบบบริการสังคม และชอบสมาคม ผู้สมัครงานที่ชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยคนที่มีปัญหาทางจิตใจ แต่ไม่ชอบให้ใครสั่ง หรืออยู่ใต้บังคับบัญชาของใคร ชอบให้ความรู้ สนทนาและสังสรรค์กับผู้อื่น มีความเข้าใจคนอื่นได้ดี กล้าแสดงออก เป็นกันเอง ร่าเริง มีความเมตตากรุณา อาชีพ : ผู้บริหารงานชุมชน ตัวแทนธุรกิจ จิตแพทย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักรัฐศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล ผู้ทำงานในชุมชน ผู้อำนวยการทางด้านบุคลากร ครู บรรณารักษ์ ข้าราชการต่างประเทศ เป็นต้น   5. บุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ ผู้สมัครงานที่ชอบกิจกรรมที่มีอิทธิพลเหนือคนอื่น ใช้ทักษะในทางพูดจา มีความเป็นผู้นำสูง ชอบแสดงความคิดเห็น มีทักษะในการพูดเพื่อโน้มน้าว ตรงไปตรงมา กล้าตัดสินใจ กล้าโต้แย้ง กล้าคิดกล้าทำ กล้าเสี่ยง ชอบการแข่งขันทะเยอทะยาน คล่องแคล่ว ว่องไว มีความรับผิดชอบ มีระเบียบ และชอบการวางแผนให้บรรลุเป้าหมาย อาชีพ : ทนายความ ผู้พิพากษา ข้าราชการ นักการเมือง เจ้าของกิจการ นักขับเคลื่อนสังคม พิธีกร นักธุรกิจ นักการตลาด นายธนาคาร เป็นต้น   6. บุคลิกภาพแบบยึดมั่นและมีระเบียบแบบแผน ผู้สมัครงานที่ชอบทำงานเกี่ยวกับตัวเลข การนับจำนวน ชอบบทบาทที่เป็น ผู้ใต้บังคับบัญชา พอใจที่จะคล้อยตาม หรือช่วยฟังบุคคลอื่น ไม่ชอบเป็นผู้นำ เลี่ยงการโต้แย้ง ไม่ชอบงานที่ใช้ทักษะทางร่างกาย ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เจ้าระเบียบ มีความเป็นอนุรักษ์นิยมมาก อาชีพ : เลขานุการ เสมียน เจ้าหน้าที่ธุรการ นักบัญชี ผู้ตรวจบัญชี บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่คลังสินค้าเป็นต้น   บทความโดย  : นายปานเทพ สุระพันธ์
อ่านเพิ่มเติม

ทำงานแบบNewNormalให้มีประสิทธิภาพทั้งสองฝ่าย

วันนี้วิกฤตโควิด-19 ได้คลี่คลายลง และคนทำงานส่วนใหญ่กลับมาใช้ชีวิตปกติกันแล้ว นอกจาก New Normal ในการปรับตัวเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 ในชีวิตประจำวัน ยังมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับรูปแบบการทำงานในยุค New Normal อีกด้วย เรามาดูกันว่าต้องเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานอย่างไรกันบ้าง   1. เวลาในการทำงาน เนื่องจากบางบริษัทมีการปรับรูปแบบการทำงานให้เป็นรูปแบบ work from home โดยพนักงานบางส่วนสามารถทำงานที่บ้านได้ แต่เราต้องอย่าลืมว่าบางทีการทำงานของเราต้องประสานกับพนักงานบางแผนกที่ยังทำงานประจำที่ออฟฟิศ จึงต้องคำนึงถึงเวลาในการติดต่อประสานงาน ส่งต่องาน ไม่ควรส่งต่องานช้าจนเกินไป หรือใกล้เวลาเลิกงาน 2. ช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ช่องทางในการติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมาก ในการทำงานรูปแบบใหม่ เพื่อไม่ให้การทำงานระหว่างกันต้องสะดุด เราจึงควรเลือกใช้ช่องทางที่สามารถสั่งงาน ประชุมงานได้สะดวกและรวดเร็วที่สุด และในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่เข้ามาช่วยซัพพอร์ตการทำงานของเรามากมาย ยกตัวอย่างเช่น Zoom , Google Hangouts , Microsoft Teams , Skype / Skype for Business , LINE  ทักษะเหล่านี้ยังเป็นสิ่งที่ผู้สมัครงานที่กำลังหางานต้องมีเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีงานทำในอนาคต 3. การอัพเดทและการทำรายงาน เนื่องจากเราทำงานที่บ้านคนเดียว การอัพเดทงานกันภายในทีม หรือการอัพเดทงานให้หัวหน้างานรับทราบถึงขั้นตอนการทำงาน ความคืบหน้าของงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นและดีที่สุด โดยชาวญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการสื่อสารแบบ HORENSO HORENSO (โฮเรนโซ) เกิดจากการรวมตัวของ 3 คำ นั่นก็คือ Ho : 報告 (Houkoku) แปลว่า การรายงาน ซึ่งการรายงานนั้นจะต้องเน้นความถูกต้อง ความรวดเร็ว และความครบถ้วน Ren : 連絡 (Renraku) แปลว่า การติดต่อ โดยจะต้องติดต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ และสุดท้าย So : 相談 (Sodan) แปลว่า การปรึกษาหารือ เป็นการปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น ๆ สุดท้ายอยากให้ทุกคนนำไปปรับใช้ให้เข้ากับการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละคน เพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่องานของเราได้คุณภาพ เจ้านายของเราก็จะมีความสุข และเราก็จะมีความสุขกับการทำงานแบบ Work From Home ได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งองค์กรของเราและคนทำงาน บทความโดย :  รัตนา  สุขสวัสดิ์
อ่านเพิ่มเติม

3ช่องทางหางานในสถานการณ์ปัจจุบันช่วงแพร่ระบาดโควิด-19

ด้วยเหตุที่ว่าปัจจุบันมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 กระจายหลายพื้นที่ ไม่ว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เป็นแหล่งหางานหลักของประเทศ แต่จังหวัดต่างๆในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยก็มีผลกระทบกระจายเป็นวงกว้าง หัวเมืองหลักของไทย ก็พบว่ามีการลดอัตราการจ้างงาน การรับสมัครงาน การเลื่อนโครงการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้ประชากรมีงานทำออกไปอย่างไม่มีกำหนด ยกเลิกตัวอย่างไม่ว่าจะ สงขลา หาดใหญ่ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา ชลบุรี  ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ตำแหน่งงานเปิดรับลดอย่างเห็นได้ชัด แรงงานในพื้นที่ภูมิภาค ก็มีผลกระทบไปตามๆกัน อีกประเด็นก็คือช่วงนี้เป็นช่วงนี้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาจำนวนมากพอดี กลับต้องว่างงาน ไม่มีงานทำ หางานไม่ได้ เพราะทุกบริษัทก็หยุดดำเนินการชั่วคราวกันหมด แต่เราต้องหาทางหางานผ่านช่องทางอื่นๆ เพื่อให้มีงานทำให้ วันนี้เราจะแนะนำช่องทางการหางาน และตรวจสอบได้ว่าบริษัทไหนเปิดรับและสัมภาษณ์งานได้บ้าง 1. เว็บไซต์หางานออนไลน์ เว็บไซต์หางานออนไลน์ในประเทศไทยก็มีจำนวนไม่น้อย เมื่อเข้าไปดูตำแหน่งงานในช่วงนี้ ก็ต้องยอมรับว่ามีตำแหน่งงานน้อยลง แต่ไม่ได้เลวร้ายเพราะก็ยังมีบริษัทจำนวนไม่น้อยประกาศตำแหน่งงานเพื่อหาบุคลากรในการสนับสนุนการทำงานของบริษัทอยู่เยอะพอสมควร คำถามที่คิดกันต่อว่าแล้วสมัครงานในเว็บไซต์หางานออนไลน์แล้วจะไปสัมภาษณ์งานอย่างไรในเมื่อหลายบริษัทหยุดทำการหรือให้เจ้าหน้าที่ทำงานที่บ้าน มันไม่ใช่อุปสรรคในหารสรรหาคนของบริษัท แต่เราก็ต้องปรับตัวการสัมภาษณ์งานในปัจจุบันช่วงวิกฤติโควิด-19 บริษัทหลายแห่งใช้ระบบสัมภาษณ์งานผ่านระบบออนไลน์ โดยอาศัยแอพต่างๆในการสัมภาษณ์งานกับผู้สมัครงานโดยไม่ต้องเสี่ยงเดินทางไปสัมภาษณ์งาน ผู้สมัครงานก็ควรสร้างเรซูเม่และใบสมัครงานลงไปในระบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด และพร้อมที่จะทำงานจริงๆหากได้งานในช่วงวิกฤตแบบนี้ 2. บริษัทจัดหางาน บริษัทจัดหางาน ก็เป็นอีกช่องทางที่เป็นตัวเลือกให้ผู้สมัครงาน คนหางาน ผู้ว่างงานในแต่ละพื้นที่มีโอกาสในการได้งานทำ เพราะว่า บริษัทจัดหางานจะเป็นตัวกลางระหว่างผู้สมัครงานและบริษัทต่างๆทั่วประเทศ ในการคัดกรองคุณสมบัติผู้สมัครงานตามความต้องการของบริษัท สัมภาษณ์ การอบรม การปรับทัศนคติ การเตรียมความพร้อมต่างๆ ก่อนที่จะส่งไปยังบริษัท หากคุณสมบัติครบ สัมภาษณ์ผ่าน ก็เข้าเริ่มงานได้ทันที ไม่ต้องรอลุ้นแบบการสมัครงานอย่างอื่นๆ และเราก็เลือกสาขาอาชีพในสิ่งที่ตัวเองชอบได้ ได้รู้ภาระหน้าที่ตำแหน่งงานของตัวเองก่อนเริ่ม ในไทย บริษัทจัดหางานก็มีมากมาย และหลากหลายประเภท เพื่อเป็นตัวเลือกให้ผู้สมัครงานเข้าไปหางาน 3. สำนักงานจัดหางานจังหวัด / กรมการจัดหางาน  กระทรวงแรงงาน สำนักงานภาครัฐอย่างสำนักงานจัดหางานจังหวัด ก็เป็นอีกช่องทางในการหางานยุคโควิด-19 แต่สำนักงานก็มีการปรับตัวขั้นตอนในการเข้ารับบริการ ด้านออนไลน์มากขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ว่างงาน ผู้สมัครงานทั่วไป ติดต่อ สอบถามและสมัครงานได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสี่ยงในการเดินทาง ตำแหน่งงานก็จะเป็นกลุ่มตำแหน่งงานทั่วไป ตั้งแต่ระดับปฏิบัติงาน ถึง ชำนาญการก็มี นี้ก็เป็นอีกช่องทางในการหางานเพื่อให้เราไม่ว่างงานนานอีกต่อไปหากเราปรับตัว   การหางานในยุคโควิด-19 นี้ไม่ใช้เรื่องลำบากและถึงแม้จะไม่สะดวกสบายแบบก่อนหน้านี้ก็ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ผู้สมัครงาน ผู้ว่างงานที่กำลังหางานทำ ลองเข้าใช้งานทั้งสามช่องทางนี้ เชื่อว่าเราจะไม่ตกงาน ว่างงานแบบนี้ไปได้นอก เพราะหลายสายงานในช่วงวิกฤตก็มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มภาคการเงินการประภัย กลุ่มระบบขนส่ง กลุ่มภาคผลิต กลุ่มวิศวกร และกลุ่มการตลาด ที่ต้องมีการขับเคลื่อนไปอย่างเป็นระบบ เราหวังว่าผู้สมัครงานปรับตัวเองให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน บทความโดย : พงศิษฐ์ ด่านประเสริฐกุล 
อ่านเพิ่มเติม

ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของคนไทยและต้องปรับตัวให้ทันเพื่อพ้นผ่านวิกฤตโควิด-19ไปให้ได้

การปรับตัวของคนทำงาน คนหางาน และผู้สมัครงานในปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตต่อไปท่ามการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คนทำงานก็ต้องระมัดระวังตนเอง แต่การทำงานก็จำเป็นในการดำรงชีวิต รายได้ ภาระหนี้สิน ที่นับวันยิ่งหนักขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะมีมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐบางส่วนก็ตาม ทุกบริษัทก็ต้องมีการปรับตัว การทำงานที่บ้าน หรือบางสาขาอาชีพก็ไม่สามารถหยุดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางไปทำงานได้ ก็ต้องดูแลตัวเอง เว้นระยะห่างทางสังคม หลายสาขาอาชีพก็งดรับพนักงาน งดสัมภาษณ์งาน ลดอัตรากำลังคน ลดเงินเดือน หรือหนักสุดก็คือให้หยุดงาน แต่ก็ต้องดิ้นรนไปในสถานการณ์แบบนี้ต้องผ่านไปให้ ไม่ว่าผู้สมัครงาน นักศึกษาจบใหม่ที่เป็นช่วงนี้พอดี เป็นเรื่องยากที่จะมีการรับสมัครงาน หางาน จนสามารถพิสูจน์อะไรได้หลายๆอย่าง จากพฤติกรรมของคน เช่นการหาช่องทางหางานทางอื่นๆ เว็บไซต์หางาน บริษัทจัดหางาน หรือไม่ก็ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ก็ยังเป็นตัวเลือกในการหางานช่วงแบบนี้ได้ดีทีเดียว เราจะได้คัดบทความดีๆ จาก ธนาคารแห่งประเทศ เพื่อมาให้ความรู้และเตรียมความพร้อมตัวเองในหางานหางาน ทำงานในยุคโควิดนี้กัน  ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้น ประเทศไทยได้เผชิญจุดผกผันของประเทศ หรือ Golden period ที่จะตัดสินว่าการระบาดของโควิด-19 ในไทยจะสามารถ คุมได้ หรือ คุมไม่ได้ ซึ่งถ้า คุมไม่ได้ จำนวนคนไข้จะเกินศักยภาพของสาธารณสุขไทยที่จะรองรับได้ ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ห้องผู้ป่วย หรืออุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อนั้นจะไม่เพียงพอ เพื่อให้เรารอดพ้นจากสถานการณ์ที่คุมไม่ได้จึงเป็นที่มาของการปฏิบัติตัวที่เราทุกคนต้องช่วยกันด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social distancing (การใช้ชีวิตที่ลดการปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพและทางสังคม) ตามหลักที่ว่า โรคติดต่อ จะไม่ติดต่อ ถ้าเราไม่ติดต่อกัน รวมไปถึงการทำงานที่บ้านสำหรับสายอาชีพที่สามารถทำได้ และมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อเสริมการเว้นระยะห่างทางสังคม ทั้งการปิดช่องทางการเข้ามาในประเทศ และการปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรคเป็นการชั่วคราว ซึ่งปกติมีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น สถานบันเทิง ร้านเสริมสวย ร้านนวดแผนโบราณ สถานศึกษา ตลาดนัด และห้างสรรพสินค้าบางส่วน โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เชื่อแน่ว่าวิถีชีวิตแบบใหม่ของการอยู่ร่วมกันในสังคมและมาตรการดังกล่าว จะช่วยลดปริมาณผู้ติดเชื้อลงได้ในภายหน้า และช่วยให้เราข้ามผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ไปได้ หากแต่คนไทยทุกคนต้องปรับตัวและอดทนเพื่อก้าวข้ามวิกฤตนี้ไปด้วยกัน   บทความในวันนี้ขอแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับแนวทางการใช้ชีวิตในห้วงเวลาสำคัญนี้ โดยขอแบ่งการทำงานตามวิถีชีวิตแบบใหม่ออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกคือคนที่สามารถทำงานที่บ้านได้ หรือ ที่เรียกกันติดปากในแทบทุกสื่อว่า WFH - Work From Home เช่น ครู นักการเงิน ผู้บริหาร ที่เทคโนโลยียุคนี้เอื้อให้ทำงานได้อย่างคล่องตัวแม้ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ขณะที่การทำงานในบางอาชีพแทบไม่จำเป็นต้องพบเจอผู้คนเลยด้วยซ้ำ เช่น นักเขียน นักออกแบบโปรแกรมเมอร์ ซึ่งภายใต้สถานการณ์ปกติแล้ว คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่คงต้องเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ ดังนั้นหากคนกลุ่มนี้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสที่จะประหยัดเวลาในการเดินทาง ยิ่งถ้าเป็นกรุงเทพฯ การต้องฝ่าฟันรถติดได้บั่นทอนศักยภาพในการทำงานไปไม่มากก็น้อย เมื่อปรับตัวได้ การทำงานที่บ้านย่อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ถือเป็นการฝึกวินัยด้วยหลักที่ว่าการทำงานวัดที่ผลงาน ไม่ได้วัดที่เวลาการเข้า-ออกจากที่ทำงาน ผู้เขียนจึงมองว่าคนกลุ่มนี้อาจไม่ได้รับผลกระทบในด้านการทำงานมากนักจากวิกฤตโควิด-19 แม้อาจรู้สึกอึดอัดถ้าชอบใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางฝูงชน อย่างไรก็ดี คนกลุ่มนี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ไทยควบคุมสถานการณ์ได้หากอยู่แต่ที่บ้านไม่ออกไปไหนถ้าไม่จำเป็น และมากไปกว่านั้นถ้ามีวินัยในการทำงานก็จะยิ่งเป็นกำลังสำคัญให้กับเศรษฐกิจไทยในช่วงวิกฤตนี้ได้   กลุ่มที่สองคือ คนที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ ประกอบไปด้วยคนหลายสายอาชีพ บุคลากรทางการแพทย์ ฮีโร่ของเราที่ต้องเผชิญความท้าทายอย่างมาก จากทั้งโรคอุบัติใหม่ซึ่งทำให้ยากแก่การรักษา จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน และยังต้องเผชิญกับการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อซึ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางความเสี่ยงของการติดโรค คนกลุ่มนี้อุทิศตัวในการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ท่ามกลางความเสี่ยงของโรค ถัดมาเป็นอาชีพที่ช่วยให้พวกเราอยู่รอดได้ในวิถีชีวิตใหม่อย่างราบรื่น อาทิ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง พนักงานขนส่งสินค้าอุปโภค บริโภค รปภ. ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่ต้องประจำการ ฯลฯ ซึ่งคนกลุ่มนี้ที่เป็นข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะได้รับเงินเดือนเท่าเดิม ขณะที่อาชีพอื่นอาจได้รับรายได้แตกต่างกันไปตามผลกระทบ มอเตอร์ไซค์รับจ้างอาจมีได้รายได้มากขึ้น เนื่องจากคนไม่ออกจากบ้านจึงใช้บริการสั่งอาหาร/ส่งของมากขึ้น แม้คนกลุ่มนี้อาจจะมีโอกาสสร้างรายได้มากขึ้น แต่ก็เป็นการปฏิบัติงานบนความเสี่ยงที่จะต้องสัมผัสกับโลกภายนอกจึงเป็นที่น่าชื่นชมและควรได้รับการปฏิบัติด้วยเป็นอย่างดีจากพวกเราที่ต้องพึ่งพาอาศัยในยามยากเช่นนี้  และกลุ่มสุดท้าย คือ คนในสายอาชีพที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจนสูญเสียงานหรือรายได้ ทั้งที่ได้รับผลโดยตรงจากนักท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างมาก เช่น ไกด์ เจ้าของธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว หรือจากการปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรคเป็นการชั่วคราว เช่น พ่อค้าแม่ค้าที่ขายของตามตลาดนัด นักร้อง/นักแสดงตามสถานบันเทิงต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งคนกลุ่มนี้มีเกือบร้อยละ 20 ของผู้มีงานทำทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมผ่านภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่จะต้องก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น พนักงานในโรงงานที่อาจปิดสายพานการผลิตบางส่วนเนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าลดลงไปมากโดยเฉพาะคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งคนที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมนี้อาจมีการกระจายตัวอยู่ทั้งในภาคเกษตร (ร้อยละ 30 ของผู้มีงานทำ) ภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ 16 ของผู้มีงานทำ) และ ภาคบริการอื่น ๆ (ร้อยละ 17 ของผู้มีงานทำ) การดูแลเยียวยาคนกลุ่มนี้ให้สามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางวิกฤตการณ์จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวดในขณะนี้   เมื่อทบทวนดูแล้ว จะพบว่าพวกเราทุกสาขาอาชีพต่างได้รับผลกระทบจากมหันตภัยโควิด-19 กันถ้วนหน้า มากบ้างน้อยบ้างตามแต่บทบาทหน้าที่ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายการช่วยเหลือจากภาครัฐในปัจจุบันจึงมีลักษณะทั้งมิติที่มุ่งให้ครอบคลุม เช่น การยืดระยะเวลาในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การหักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ การบรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ การลดภาระค่าธรรมเนียมค่าเช่า ค่าตอบแทนในการให้บริการของส่วนราชการ การลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม การเพิ่มเงินช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน รวมถึงมาตรการเสริมสภาพคล่องในวงกว้างจากทั้งระบบธนาคารและสำนักงานธนานุเคราะห์ และมิติที่มุ่งให้สามารถสนับสนุนและเยียวยาได้อย่างตรงจุด เช่น การให้ค่าเสี่ยงภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์พร้อมกับยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนนั้น ๆ การสนับสนุนเงินแก่ผู้ประกอบอาชีพอิสระนอกระบบประกันสังคม ซึ่งแน่นอนว่าพวกเราทุกคนคงอยู่ในสภาวะที่ไม่ว่าเงินช่วยเหลือเยียวยาจะมีมากเท่าใดก็ไม่มีทางชดเชยความสูญเสียทั้งทางรายได้และความรู้สึกที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้ แต่ขออนุญาตทิ้งท้ายบทความไว้ว่า ยิ่งพวกเราต้องรักษาระยะห่างกันไว้เท่าใด แต่การร้อยจิตเชื่อมใจให้เหนียวแน่นจะเป็นหนทางสายเอกในการร่วมฝ่าฟันภัยพิบัติร่วมกันไป และขอให้ทุกท่านแคล้วคลาดปลอดภัยรักษากายใจให้มั่นคงจนถึงวันที่เราจะได้ออกมาฉลองท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่หลังโรคร้ายยุติการแพร่ระบาดลง บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย ขอขอบคุณบทความจาก :  ดร.มณฑลี กปิลกาญจน์  นางสาวนันทนิตย์ ทองศรี  ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติม

เตรียมตัวสมัครงานอย่างไรให้ได้งานหลังCOVID-19

เตรียมตัวสมัครงานอย่างไรให้ได้งาน หลัง COVID-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ที่กระจายไปทั่วในตอนนี้ ผลกระทบตามมาคือ การสมัครงาน การหางาน ของผู้สมัครงานในแต่ละพื้นที่ลำบากมากขึ้น และโอกาสในการได้งานทำก็น้อยจนแทบไม่เห็นทางในช่วงระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา การรับพนักงาน ของสถานประกอบการก็มีการชะลอตัวชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการไม่รับพนักงานเพิ่ม การให้หยุดงาน การลดอัตราการรับสมัครงาน ที่หนักคือสถานประกอบการก็มีมาตรการระวังป้องกันโรคโดยไม่มีการนัดสัมภาษณ์งาน เลื่อนการเริ่มงานอย่างไม่มีกำหนด แต่ในวิกฤติก็ยังมีโอกาสการเตรียมตัวเองเพื่อสมัครงาน สัมภาษณ์และหางานในช่วงหลังสถานกาณ์ดีขึ้น จึงเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นตัวชี้วัดว่าคุณมีความพร้อมขนาดนั้นที่จะแข่งขันในตลาดจำนวนมากกว่าปกติ สิ่งสำคัญหลัก 4 อย่าง ที่ทำได้ระหว่างรอสถานการณ์ 1. การเรียนหลักสูตรระยะสั้น การหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น เพื่อเพิ่มทักษะเฉพาะด้านหรือสิ่งที่ตัวเองชอบเป็นพิเศษ รวมทั้งเป็นการทบทวนสิ่งที่เรียนมา การพัฒนาความรู้ความสามารถในสายงานของตัวเอง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน แถมเรียนจบหลักสูตร เราจะได้มีเอกสารการจบการเรียนหลักสูตรนั้นๆ ไปประกอบในการพิจารณาการสมัครงาน หางานได้อีกด้วย ปัจจุบันประสบการณ์การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คุณพัฒนาตัวเอง และมีโอกาสในได้งานมากกว่าคนอื่น 2. การเพิ่มทักษะด้านไอทีและโปรแกรมสารสนเทศ การเตรียมความพร้อมตนเอง ทุกๆด้านในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสายงานของเราเองการพัฒนาฝีมือแรงงาน จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความรู้ด้านไอทีก็จำเป็นต่อได้งานทำในยุคปัจจุบันพอสมควร ก็เริ่มจากการหาโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับสายงานของตนเอง สาขาที่จบการศึกษา หรือโปรแกรมเฉพาะด้านที่สนใจเป็นพิเศษ เพื่อเพิ่มศักยภาพ ทักษะด้านไอทีของเราให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรม บัญชีอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ โปรแกรมด้านเฉพาะช่างและวิศวกร หรือทักษะการใช้โปรแกรมการนำเสนอผลงาน โปรแกรมพื้นฐานในการทำงาน และการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านช่องทางต่างๆ หากมีทักษะไอทีเพิ่มขึ้นเชื่อได้เลยว่าคุณจะสมัครงานที่ไหน หางานที่ไหน ก็ได้งานแน่นอน 3. การเขียนเรซูเม่และใบสมัครงานเตรียมไว้ การสร้างเรซูเม่ในปัจจุบันไม่ได้เหมือนในอดีตอีกต่อไป เพราะหากจะสร้างจุดเด่นในสมัครงานหางานที่ไหนก็ได้งานเลยอย่างไม่ผิดหวัง เรซูเม่ก็เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกๆที่สถานประกอบการจะเข้าใจคุณมากขึ้น อินโฟรกราฟิคเรซูเม่ การดีไซน์ ออกแบบเรซูเม่ ให้เข้าใจง่าย กระชับ นอกจากข้อมูลสำคัญต่างๆ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ อีเมล์  ไลน์ กิจกรรมที่ผ่านตั้งแต่เรียนและทำงาน ทักษะพิเศษ การดีไซน์ความคิดสร้างสรรค์ในการออกบบเรซูเม่ให้น่าใจก็เป็นสิ่งจำเป็น และยังเป็นตัววัดทักษะการใช้โปรแกรมต่างๆนอกเหนือจากสายงานของคุณ  แต่ถ้าคุณอยากเพิ่มเติมอะไรก็แค่เอาแฟ้มสะสมผลงานไปตอนสัมภาษณ์ไปด้วย แค่นี้ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว 4. หาช่องทางการหางาน เว็บหางานออนไลน์ บริษัทจัดหางาน ช่วงนี้ก็หางานศึกษาตำแหน่งงานต่างๆในเว็บไซต์หางานออนไลน์ หรือบริษัทจัดหางานต่างๆ  เพื่อดูรายละเอียดตำแหน่งงาน คุณสมบัติ สถานที่เปิดรับสมัครงาน บริษัทที่คุณสนใจ แต่ทางที่ดีก็สมัครงานออนไลน์  ผ่านระบบเว็บไซต์หางานออนไลน์ไว้เลย สร้างเรซูเม่ใบสมัครงาน ให้เรียบร้อย เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นบริษัทเหล่านั้นที่เราสมัครงานไว้ในเว็บไซต์ก็อาจเรียกเราเป็นอันดับแรกๆก็เป็นไปได้  อีกประเด็นในช่วงนี้ก็มีหลายบริษัทยังเปิดรับสมัครงานอยู่ ผ่านเว็บไซต์หางานออนไลน์ สัมภาษณ์ออนไลน์ก็ยังมี ทางที่ดีควรเตรียมความตนเองให้พร้อม สร้างเรซูเม่ใบสมัครงานให้เรียบร้อย ฝึกฝนตนเองในด้านต่างๆอยู่ตลอดเวลา แล้วสมัครงานผ่านช่องทางออนไลน์กลุ่มนี้ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้คุณพลาดโอกาสในการได้งานทำ ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร การเตรียมตัวให้พร้อมเป็นสิ่งสำคัญในการหางาน และทำให้คุณได้งานได้ง่ายขึ้น แค่คุณอย่างท้อแท้อย่าหยุดพัฒนาตนเอง หาแหล่งเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จริงๆแล้วการหางาน สมัครงาน สำหรับผู้สมัครงานในยุคนี้สะดวกสบายกว่าสมัยก่อนเยอะ แถมยังมีช่องทางมากมายให้เลือก สิ่งสำคัญอีกประเด็นที่คุณจะหางานแล้วได้งานได้เร็วขึ้นคือ ทัศนคติในการทำงาน ภาวะในการทำงานและการพร้อมในทำงาน  เราเป็นกำลังใจทุกคนที่กำลังหางาน แล้วเราจะผ่านไปด้วย บทความโดย : พงศิษฐ์ ด่านประเสริฐกุล    
อ่านเพิ่มเติม
Top